Copyright 2024 - Custom text here

ศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน : Relearning Space @ Library

 

 

 

บทนำ

     

        สิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นความท้าทายของภาครัฐและรธุรกิจคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยกระดับทักษะ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ  อย่างไรก็ตามต้องค้นหาทักษะแบบไหนด้านไหน ที่จะรองรับเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ให้ทันต่อความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วของเทคโนโลยี ในรูปแบบต่าง ๆ

 

         องค์กรหลายแห่งกำลังได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีดิจิทัล การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของแรงงาน การพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ๆ  การเสริมทักษะให้ทันสมัย และเรียนรู้ทักษะใหม่  จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยในการทำงานและเสริมสร้างอาชีพ  การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจึงมีความ สำคัญ  ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก  การเสริมทักษะอาชีพและนวัตกรรมดิจิทัลผ่านห้องสมุดประชาชน  จึงเป็นเป้าหมายหลัก โดยการพัฒนายกระดับความรู้และเสริมทักษะอาชีพที่สนใจ  การเรียนรู้เพื่อขยายโอกาสด้าน reskill และยกระดับทักษะ (upskill)  จึงเป็นคำตอบของศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน โดยการจัดห้องเรียนอาชีพ แบบเรียนอาชีพ  เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของนวัตกรรม ให้สามารถมีอาชีพที่สอง สำหรับพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง ชุมชน และสังคมอันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

 

         สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย จึงได้นำเสนอโครงการศูนย์เรียนรู้ต่อเนื่องอย่างยั่งยืน (Re-Learning Space @ Library) ต่อมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ เป็นผู้ สนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากห้องสมุดประชาชนสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ใหม่ (Re-Learn) เพื่อ Re-Skill รองรับการเปลี่ยนแปลงและการก้าวเข้าสู่สังคมและเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

 

     

ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนทั่วประเทศ กว่า 627 แห่ง ประสบปัญหาการถูก Disrupt อาทิ จำนวนผู้เข้าใช้บริการน้อยลง รูปแบบการให้บริการเป็นแบบตั้งรับมากเกินไป ประชาชนในชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของห้องสมุด มีความหลากหลาย และเผชิญกับปัญหาการถูก Disruption ในแต่ละช่วงวัยที่แตกต่างกัน  และจากการลงพื้นที่ในต่างจังหวัด พบว่า กลุ่มผู้มีรายได้น้อยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงเรื่องราคาสินค้าเกษตรที่ราคาตกต่ำ หรือ ตกงาน จึงมีความต้องการพัฒนาความรู้เพื่อสร้างอาชีพที่สองเป็นหลัก

 

 

      

         สมาคมห้องสมุดฯ ได้พิจารณานำเสนอโครงการฯ ต่อมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  เพื่อพิจารณาและเห็นว่าเป็นโครงการที่สำคัญสอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานของมูลนิธิมูลนิธิฯ ในการสร้าง Impact และมีความเป็นไปได้สูงว่าจะพัฒนาเป็น Flagship ต่อไปในอนาคตได้  

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชน นักศึกษา ผู้ทำงานและผู้เกษียณอายุการทำงาน ในการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน
  2. เพื่อส่งเสริมบทบาทใหม่ของห้องสมุดประชาชนในการพัฒนาทักษะและนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ รองรับการเปลี่ยนแปลงและการก้าวเข้าสู่สังคมและเศรษฐกิจยุคดิจิทัล
  3. เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้แบบพลิกโฉมในทุกพื้นที่ของชุมชน ในลักษณะ Unlimited Space โดย Re Learning Space @ Library จะเป็นพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ ในฐานะศูนย์กลางเรียนรู้ที่เป็นจุดเริ่มต้น ในการช่วยกระจายความรู้สู่ประชาชนในชุมชนในการเข้าถึงและเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  

 

 

เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2563

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้ดำเนินการตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ จำนวน 2 แห่ง โดยการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวนปีละ 4 ล้านบาท ได้แก่

  1. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุราษฎาร์ธานี
  2. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุตรดิตถ์

 

 

ย่างก้าวเข้าสู่ปีที่สอง ในปี พ.ศ. 2564

 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้ดำเนินการตั้งศูนย์เรียนรู้ฯ เพิ่มอีก 3  แห่ง โดยการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวนปีละ 4 ล้านบาท ได้แก่

  1. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง
  2. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชานี
  3. ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จังหวัดเพชรบูรณ์

 

 

ดำเนินการต่อเนื่องในปีที่สาม ในปี พ.ศ. 2565

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ  ติตดตามและให้การสนับสนุนศูนย์เรียนรู้ฯ ทั้ง 5  แห่ง เพื่อความต่อเนื่องและความยั่งยืน ในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของชุชน โดยการลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการผลิตและการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ของ 2 จังหวัด ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุตรดิตถ์  ตลอดจนพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ต่อการการเรียนรู้ พัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายยสินค้าและผลิตภัณฑ์จากการเรียนรู้ ผ่านศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อสร้างชุมชนให้มีความสุข สามารถผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ใช้ในครอบครัว และการจำหน่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ อันจะนำมาซึ่งความสุข ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพที่สองต่อไป

f t g m